เตือน ฮีตสโตรก อันตรายจากความร้อนที่ไม่ทันรู้ตัว

เตือน ฮีตสโตรก อันตรายจากความร้อนที่ไม่ทันรู้ตัว เผยวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

เรียกว่าประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อน หลายจังหวัดมีสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้ล่าสุด (31 มีนาคม 2566) ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลผ่าน เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เตือนถึงโรคที่เกิดจากอากาศร้อน อย่าง ฮีตสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด ความร้อนที่อันตรายโดยไม่ทันรู้สึกตัว และวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น โดยอธิบายเป็นข้อ ๆ ดังนี้

ข่าวสุขภาพ

1. ความร้อนจริงที่กระทบร่างกาย จะมากกว่าอุณหภูมิที่วัดในสถานที่ เนื่องจากต้องควบรวมกับความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) ด้วย

ดังนั้นดัชนีความร้อนจริง (heat index) จะเป็นตัวเลขจริง ซึ่งสูงกว่าธรรมดามาก ในประเทศไทยมีความชื้นสัมพัทธ์สูงอยู่แล้วมากกว่า 70% และก่อให้เกิดอันตรายในหลายระดับ

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

2. อาการของฮีตสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด สามารถออกมาได้ทันที เป็นระดับ 4 โดยไม่แสดงอาการตามลำดับ ที่เริ่มมีผิวบวมแดงตะคริว หรือ เพลีย โดยหมดสติและมีอาการทางหัวใจ

แม้แต่การมีอาการตามระดับ มาถึงระดับที่รุนแรงที่สุดนั้น ผิวหนังกลับแห้ง ไม่มีเหงื่อ และชีพจรในระยะแรกจะเร็วและเบา คล้ายช็อก แต่เมื่อถึงระดับ 4 ชีพจรแม้ว่าเร็วแต่กลับหนักแน่น

3. ความร้อนภายในตัว (core temperature) วัดจากทางทวาร (rectal temperature) จะแม่นยำกว่าการวัดทั่วไป

4. จากความร้อนในตัว จะกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดและทำให้เลือดข้นหนืด รวมถึงทำให้ผนังลำไส้รั่วปลดปล่อยให้พิษในลำไส้เข้ากระแสเลือด และกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงขึ้นไปอีก

5. ดังนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถเป็นทันทีทันใด (แม้จะไม่บ่อย) ทางหัวใจ ทางสมอง โดยแทบไม่มีอาการเตือนได้

ติดตามข่าวสารต่างๆได้ที่นี่ >>> สถิติเก่า พบ ‘อ.สารภี จ.เชียงใหม่’ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดและเสียชีวิตมากที่สุดของประเทศ